วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ อาจารย์ ดร. ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล อธิการบดี พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.วันเกษม สัตยานุชิต หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และ อาจารย์ สายสวาท โคตรสมบัติ หัวหน้างานสหกิจศึกษา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการเร่งรัดและขยายผลการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง CWIE+EEC Model Type A (CWE+EEC Model Type A Master Class) ในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โดยท่าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ดร.อภิชาต ทองอยู่ (ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) Keyman) เป็นประธานในพิธีลงนามพร้อมร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Month: July 2023
สวทช (NSTDA) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นำโดย อาจารย์ ดร.ปิติภูมิ โพสาวัง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้นำทีมวิทยากรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ทีมวิทยากรอบรม“โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้งานแพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง Traffy Fondue” ในโครงการยกระดับการให้บริการรับเรื่องร้องทุกข์/ร้องเรียน ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 #สวทช (NSTDA) ร่วมกับ #มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นำโดย อาจารย์ ดร.ปิติภูมิ โพสาวัง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้นำทีมวิทยากรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ทีมวิทยากรอบรม“โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้งานแพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมือง Traffy Fondue” ในโครงการยกระดับการให้บริการรับเรื่องร้องทุกข์/ร้องเรียน ในพื้นที่จังหวัดลำปางผ่านระบบทราฟฟี่ ฟองดูว์ สำหรับหน่วยงานราชการ จังหวัดลำปาง จำนวน 200 หน่วยงาน ณ โรงแรมบุษย์น้ำทอง จังหวัดลำปาง โดยได้รับเกียรติจากนายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เปิดงานในครั้งนี้ นอกจากนี้ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการใช้งานแพลตฟอร์มบริหารจัดการปญหาเมือง Traffy fondue ในจังหวัดลำปาง ซึ่งได้รับการตอบรับเกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชั่น Traffy Fondue อย่างเต็มรูปแบบ และมีประสิทธิภาพต่อไป
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จับมือ ชพน. วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา ร่วมกับ หจก.ภิรมย์รัช อยุธยา อิเล็กทรอนิกส์ บริจาคหน้ากากอนามัยแบบผ้า จำนวน 7,000 ชิ้น
เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จับมือ ชพน. วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา นำโดย อาจารย์ ดร. ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล และนายตระการ แสนแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา ร่วมกับ หจก.ภิรมย์รัช อยุธยา อิเล็กทรอนิกส์ บริจาคหน้ากากอนามัยแบบผ้า จำนวน 7,000 ชิ้น รวมมูลค่า 105,000 บาท ให้แก่เรือนจำกลางจังหวัดนครราชสีมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางราชการ ป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคโคโรนา 19
ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ก.ค. 66 อาจารย์ ดร.ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล ท่านอธิการบดี รวมทั้งคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดี และคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้การต้อนรับคณาจารย์จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์เข้าศึกษาดูงานภายในมหาวิทยาลัยและคณะวิศวกรรมศาสตร์
ม.วงษ์ชวลิตกุล ระดมความคิดภาคธุรกิจนครราชสีมาออกแบบหลักสูตรต้องทันสมัย ตรงความต้องการตลาด รับมือ “AI”เน้นเด็กจบมีงานทำ
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ที่มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลมีการจัดเสวนาภายใต้หัวข้อ “ทักษะของการตลาดแรงงานในอนาคต” ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย อาจารย์ ดร.ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล คุณไพสิทธิ์ ปิติทรงสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมากิตติมศักดิ์ คุณสมลักษณ์ ศรีสุวรรณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา คุณสุดที่รัก พันธ์สายเชื้อ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาและคุณมารุต ชุ่มขุนทด CEO Class Café โดยมีคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ดร. ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดงานในครั้งนี้ว่า จ นครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ใหญ่ มีประชากรเป็นจำนวนมากอีกทั้งเป็นพื้นที่ที่มีความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางมีการเชื่อมโยงเส้นทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและนานาชาติสิ่งนี้ทำให้ต้องมีการวางแผนพัฒนาเพื่อการรองรับการเติบโตของเมืองในอนาคต ในปัจจุบันผลกระทบจากการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบการจ้างงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยเราจะเห็นจากระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI; Artificial intelligence) ที่เข้ามามีบทบาท ภาคอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากขึ้น อีกทั้งความต้องการทักษะแรงงานที่มีฝีมือเฉพาะด้าน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทในการทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตเพื่อออกไปสู่ตลาดแรงงานในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ภาคอุตสาหกรรม ภาคการบริการ ธุรกิจการค้าปลีก การท่องเที่ยวเป็นต้น การผลิตบัณฑิตในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการรู้ทิศทางความต้องการบัณฑิตในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าจะมีลักษณะความสามารถอย่างไร สำหรับการจัดเสวนาในครั้งนี้จะมีการเสวนาในเวทีใหญ่และแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยในแต่ละคณะวิชาซึ่งการเสวนาดังกล่าว จะเป็นการตอบโจทย์ให้กับมหาวิทยาลัยในการนำข้อมูลมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการปรับปรุงหลักสูตร ให้สามารถผลิตบัณฑิตได้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ท่านอธิการบดี ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรมการเรียนรู้ ผู้ช่วยอธิการบดีศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต และหัวหน้างานสหกิจศึกษา ได้เข้าร่วมงาน “HR Korat Next Gen 2023”
วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ท่านอธิการบดี ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรมการเรียนรู้ ผู้ช่วยอธิการบดีศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต และหัวหน้างานสหกิจศึกษา ได้เข้าร่วมงาน "HR Korat Next Gen 2023" ณ โรงแรมฟอร์จูน นครราชสีมา ซึ่งมีบริษัท/หน่วยงานที่เข้าร่วมงาน จำนวน 30 แห่ง ด้วยกัน โดยผู้เข้าร่วมงานมีตำแหน่งผู้บริหาร หัวหน้างาน และหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล ของหน่วยงานนั้นๆ ภายในงานเป็นการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง สถานประกอบการ องค์กรด้านแรงงาน องค์กรด้านการเงิน และสถานศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการด้านทักษะแรงงาน และจำนวนแรงงาน ทั้งนี้... ท่านอธิการบดี ยังแสดงวิสัยทัศน์ถึงศักยภาพความพร้อมในการผลิตบัณฑิต เพื่อออกมาเป็นกำลังสำคัญของจังหวัดนครราชสีมา ในการทำงานต่อองค์กรทุกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานให้มากที่สุดอีกด้วย
เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2566 อาจารย์ ดร.วันเกษม สัตยานุชิต และอาจารย์กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “พัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล”
เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2566 อาจารย์ ดร.วันเกษม สัตยานุชิต และอาจารย์กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “พัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล” โดยนายสยมพร วงศ์พยัคฆ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนางรอง มอบหมายให้นายณัฐชัย เชียรประโคน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดนางรอง เป็นประธานเปิดโครงการ “พัฒนาการบริการสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล” ซึ่งมีสิบตำรวจโทพนง จะนันท์ ผู้อำนวยการฯ กล่าวรายงาน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ พัฒนาศักยภาพด้านการบริการให้กับบุคลากร และให้บุคลากรนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีผู้ประนีประนอม ผู้ให้คำปรึกษาฯ และเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดนางรอง กว่า 50 ท่านเข้าร่วมโครงการ ณ ห้องสันทนาการ ชั้น 1 อาคาร ศาลจังหวัดนางรอง ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์