Page 8 - เล่มสมบูรณ์ 14 มิ.ย.62
P. 8
2
เพื่อจะน าไปใช้ในการสร้างทฤษฎีใหม่ มุ่งหวังให้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้และสามารถน าไปใช้
ประโยชน์ได้ในทางปฏิบัติ
ส าหรับรูปแบบของการเขียนรายงาน ภาคนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ และวิทยานิพนธ์
ส่วนใหญ่จะเหมือนกัน มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยในส่วนปลีกย่อย เช่น วิทยานิพนธ์จะต้องมี
บางส่วนเพิ่มขึ้นซึ่งไม่จ าเป็นต้องมีในรายงาน ภาคนิพนธ์ เป็นต้น
1.2 ควำมส ำคัญของบทนิพนธ์
บทนิพนธ์ เป็นการน าเสนอการศึกษาหรือการวิจัยที่นักศึกษาได้ด าเนินการอย่างต่อเนื่อง
เป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบและครบถ้วนตามกระบวนการ แล้วน ามาเรียบเรียง และ
พิมพ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยก าหนด บทนิพนธ์เป็นบทเขียนหรือวรรณกรรมที่ต้องถูกศึกษาอ้างอิง
หรือท าการค้นคว้าเพิ่มเติมโดยผู้ศึกษาหรือนักวิจัยรุ่นหลัง ดังนั้น บทนิพนธ์ที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
1.2.1 มีความถูกต้องและเป็นไปได้ในแง่มุมทางวิชาการ
1.2.2 น าเสนออย่างเป็นขั้นตอนและง่ายต่อการท าความเข้าใจ
1.2.3 ใช้ภาษาที่สละสลวยถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
1.2.4 มีแง่มุมความคิดของการน าเสนอที่ลึกซึ้ง
1.2.5 ส่งเสริมให้มีการขยายผลการศึกษาหรือการวิจัยเพิ่มเติมในภายหลัง
1.3 ส่วนประกอบของบทนิพนธ์
1.3.1 ส่วนประกอบตอนต้น มีดังนี้
1.3.1.1 ปกนอก (Cover)
1.3.1.2 ใบรองปก (Fly Leaf)
1.3.1.3 ปกใน (Title Page)
1.3.1.4 หน้าอนุมัติ (Approval Sheet หรือ Acceptant Page)
1.3.1.5 หน้ากิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) หากเป็นรายงานหน้านี้จะ
เป็นหน้าค าน า (Prefers หรือ Foreword)
1.3.1.6 บทคัดย่อ (Abstract)
1.3.1.7 สารบัญ (Table of Contents)
1.3.1.8 สารบัญตาราง (List of Tables) (ถ้ามี)
1.3.1.9 สารบัญภาพประกอบ (List of Illustration) (ถ้ามี)
1.3.1.10 ค าอธิบายสัญลักษณ์และค าย่อที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ (ถ้ามี)