Page 11 - เล่มสมบูรณ์ 14 มิ.ย.62
P. 11
5
บทที่ 2
องค์ประกอบของบทนิพนธ์
บทนิพนธ์ที่ดีควรมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ เป็นไปตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัยวงษ์
ชวลิตกุล ในบทนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของรูปแบบและองค์ประกอบของบทนิพนธ์
2.1 แนวทางการท าวิจัย
การท าวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษานั้น สามารถท าได้ทั้งงานวิจัยเชิงปริมาณ งานวิจัยเชิง
คุณภาพ และงานวิจัยที่ผสมผสานทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน การจะเลือกใช้งานวิจัยแบบใดขึ้นอยู่กับ
ค าถามการวิจัยว่า งานวิจัยแบบใดจะให้ค าตอบได้ชัดเจนมากกว่ากัน
2.1.1 การวิจัยเชิงปริมาณ
การเขียนส่วนเนื้อหางานวิจัยเชิงปริมาณ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยบทต่าง ๆ ซึ่ง
อาจก าหนดแตกต่างกันไป กล่าวคือ บทที่ 1 บทน า บทที่ 2 เอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3
วิธีด าเนินการวิจัย บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และ บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ดังนี้
2.1.1.1 บทน า ประกอบด้วย ความเป็นมา และความส าคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ค าถามการวิจัย ความส าคัญของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่
คาดว่าจะได้รับ กรอบแนวคิดการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะและนิยามปฏิบัติการ หากมีหัวข้อส าคัญอื่น ๆ
ที่เป็นเงื่อนไขของการวิจัย อาจเพิ่มเติมหัวข้อเหล่านั้นได้ตามความเหมาะสม
1) ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา กล่าวถึง ความเป็นมาของ
ค าถามการวิจัย ความจ าเป็นที่จะต้องศึกษาในค าถามนั้น (Needs for the Study) ซึ่งในการเรียบเรียง
ผู้วิจัยควรเขียนให้กระชับ สั้น และตรงประเด็น
2) ค าถามการวิจัย หมายถึง ข้อความสรุปมาจากความส าคัญและ
ความเป็นมาของปัญหาที่เขียนโยงกันอย่างกลมกลืนถึงค าตอบที่ต้องการ
3) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) คือ ข้อความที่
แสดงถึงประเด็นที่ต้องการค้นหาค าตอบในกรณีที่มีหลายประเด็นผู้วิจัยอาจก าหนดเป็นข้อ ๆ
ให้สอดคล้องกับค าถามการวิจัย