Page 13 - เล่มสมบูรณ์ 14 มิ.ย.62
P. 13

7





                                   2.1.1.3   วิธีด าเนินการวิจัย เป็นเนื้อหาที่บ่งบอกว่าผู้วิจัยจะด าเนินการวิจัยโดยวิธีใด

                      และบอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ส าคัญ ดังนี้

                                         1)  การก าหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
                                         2)  การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                                         3)  การเก็บรวบรวมข้อมูล

                                         4)  การจัดกระท าและการวิเคราะห์ข้อมูล
                                           ลักษณะของการน าเสนอ ควรเขียนตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการ

                      ด าเนินการวิจัยที่ผู้วิจัยได้กระท าผ่านมา ส านวนภาษาที่ใช้เป็นการบอกเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว

                      (ในส่วนนี้เมื่อเขียนเค้าโครงการวิจัยอาจจะเขียนเป็นแนวทางกว้าง ๆ ที่ผู้วิจัยก าหนดไว้ว่าจะท าเช่นไร
                      แต่เมื่อได้ผ่านกระบวนการวิจัยแล้ว การน าเสนอส่วนนี้ในรายงานการวิจัยจะต้องปรับให้เป็นการบอก

                      ถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้ปฏิบัติจริง บางส่วนอาจจะไม่ได้กล่าวไว้ในเค้าโครง หรือมีการปรับเปลี่ยนไปจาก

                      เค้าโครงแล้วก็ได้) เมื่อด าเนินการวิจัยผู้วิจัยควรบันทึกเหตุการณ์ไว้เป็นระยะ เช่น สังเคราะห์กรอบ
                      แนวคิดในการวิจัยมาอย่างไร ล าดับขั้นการวิจัยเป็นอย่างไร ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง วันใด

                      จ านวนเท่าใด  ติดตามกลับรับกลับคืนโดยวิธีการใด ได้รับกลับมาเมื่อใด เมื่อครบเวลาตามที่ก าหนดไว้

                      ได้รับแบบสอบถามกลับมากี่ฉบับ ยังขาดอยู่กี่ฉบับ จัดส่งไปรอบที่สองวันใด ได้รับมาครบถ้วนวันใด
                      ได้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของค าตอบอย่างไร เหล่านี้เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ผู้วิจัยต้องเขียนสรุปไว้ให้

                      ครบถ้วน

                                   2.1.1.4   ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ
                      ตารางประกอบค าอธิบาย ซึ่งปกติแล้วจะเสนอตามล าดับ ดังนี้

                                         1)  ตารางข้อมูลคุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถามหรือกลุ่มตัวอย่าง

                      ตามปกติแล้วผู้วิจัยจะวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จากแบบสอบถามซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นตัวแปรต้นหรือ
                      ตัวแปรอิสระ การน าเสนอผลส่วนนี้มักจะเป็นค่าความถี่ ค่าร้อยละ หรืออื่น ๆ ในการออกแบบการ

                      น าเสนอข้อมูลส่วนนี้ ผู้วิจัยควรออกแบบตาราง ที่สามารถน าเสนอข้อมูลที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์

                      ของข้อมูล เช่น การวิจัยเรื่องหนึ่ง ได้ถามข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ดังนี้ เพศ ประเภทของ
                      สถาบันการศึกษาที่สังกัด (รัฐบาลหรือเอกชน) คะแนนเฉลี่ยเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประสบการณ์

                      ในงานห้องสมุด (มีประสบการณ์ในงานหรือไม่มี) การน าเสนอข้อมูลนั้นก็ควรน าเสนอโดยละเอียด

                                         2)  ตารางสรุปผลข้อมูลที่เป็นภาพรวม โดยแสดงค่าสถิติพรรณนา เช่น
                      ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมทั้งการแปลผลของค่าเฉลี่ยที่ค านวณได้ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยตั้ง

                      ไว้ เป็นต้น
                                         ส าหรับข้อ 1) และ ข้อ 2) ผู้วิจัยอาจน ามารวมกันโดยท าตารางให้เห็น

                      ข้อมูลสองทาง คือ ทั้งที่เป็นลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง และค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรแต่ละตัว
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18