Page 27 - เล่มสมบูรณ์ 14 มิ.ย.62
P. 27
21
3.14 การจัดพิมพ์ตาราง
3.14.1 ส่วนประกอบของตาราง
ตารางประกอบด้วยส่วนส าคัญ 3 ส่วน
3.14.1.1 หมายเลขตาราง จะใช้ค าว่า “ตาราง” (ตัวหนา) แล้วใส่หมายเลขของ
ตารางตามล าดับตามที่ปรากฏในเนื้อความโดยเริ่มจากตาราง 1 แต่ถ้าในภาคผนวกจะใช้ตัวอักษรก ากับ
หมายเลขตาราง เช่น ตาราง 1ก หมายถึงตารางล าดับที่ 1 ในภาคผนวก ก หรือ ตาราง 3ค หมายถึง
ตารางล าดับที่ 3 ในภาคผนวก ค เป็นต้นเว้น 1 ตัวอักษรให้ระบุชื่อตาราง
3.14.1.2 ชื่อตารางควรสั้นแต่ชัดเจน และได้ใจความ ไม่มีรายละเอียดมากเกินไป
และตรงกัน สาระส าคัญที่จะน าเสนอ
3.14.1.3 หัวข้อในตาราง เป็นการจัดกลุ่มข้อมูลที่น าเสนอเพื่อช่วยในการ
เปรียบเทียบข้อมูลได้ง่าย จัดเป็นหมวดหมู่ โดยมีหัวข้อก ากับ ซึ่งหัวข้อควรกระชับ รัดกุม ชัดเจน
3.14.2 หมายเหตุตาราง (Notes)
หมายเหตุตารางจะใส่ไว้ท้ายตาราง มี 3 ประเภท คือ
3.14.2.1 หมายเหตุทั่วไป จะอธิบายให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับตารางโดยรวม
จบด้วยการอธิบายค าย่อ สัญลักษณ์ที่ใช้ในตาราง ในการเขียนจะใช้ค า หมายเหตุ และขีดเส้นใต้
3.14.2.2 หมายเหตุเฉพาะ จะอ้างถึงคอลัมน์ แถว หรือรายการใด รายการหนึ่ง
โดยจะพิมพ์ (1, 2, 3) หรือ (a,b,c) เยื้องขวาบนข้อความตรงที่ต้องการหมายเหตุ
3.14.2.3 หมายเหตุความน่าจะเป็น (Probability Note)
เพื่อระบุผลการทดสอบนัยส าคัญ เครื่องหมาย * แสดงถึงค่าที่ปฏิเสธ
สมมติฐานทางสถิติ (Null Hypothesis) โดยระบุค่าความน่าจะเป็น p ในหมายเหตุ เช่น * p < .05
ในตารางหนึ่ง ๆ อาจมีหมายเหตุ ทั้ง 3 ประเภทนี้ ในการเรียงล าดับ ให้เรียงหมาย
เหตุทั่วไป หมายเหตุเฉพาะ และหมายเหตุความน่าจะเป็น โดยขึ้นบรรทัดใหม่
3.14.3 ตารางจากแหล่งอื่น
การน าตาราง (รวมถึงภาพ) จากแหล่งอื่นมาใช้เต็มรูปหรือน ามาดัดแปลง ควร
ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนหรือผู้พิมพ์เผยแพร่ที่เป็นแหล่งเดิม หรืออย่างน้อยให้ลงรายการอ้างอิงที่
สมบูรณ์ถูกต้อง ตารางที่คัดลอกมาหรือที่ปรับปรุงใหม่ จึงต้องมีหมายเหตุท้ายตารางให้เป็นเกียรติแก่
เจ้าของเดิมและเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยรูปแบบการเขียนหมายเหตุขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสาร