Page 14 - เล่มสมบูรณ์ 14 มิ.ย.62
P. 14
8
3) ตารางเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานหรือเพื่อตอบ
ค าถามวิจัย การน าเสนอตาราง ผู้วิจัยต้องแสดงผลในตารางให้ถูกต้อง มีการแสดงค่าสถิติที่จ าเป็น
ให้ครบถ้วน โดยอาจเลือกรูปแบบการน าเสนอ รูปแบบใดก็ได้ตามความเหมาะสม แต่สามารถสื่อให้
ผู้อ่านเข้าใจได้ เมื่อเลือกรูปแบบการเสนอตารางรูปแบบใดแล้ว ให้เสนอในรูปแบบนั้นไปตลอดทุก
ตาราง
2.1.1.5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปงานวิจัยทั้งหมดเพื่อให้
ผู้ที่สนใจ และต้องการรู้ผลของงานวิจัยโดยเร็ว สามารถอ่านงานวิจัยจากบทนี้เพียงบทเดียวก็เข้าใจ
เนื้อหาได้โดยตลอด ในบทนี้ควรมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
1) ส าหรับความมุ่งหมายของการวิจัย และสมมติฐานของการวิจัย
ให้คัดลอกมาจากข้อความใน บทที่ 1 หรือ บทที่ 2 ได้ ส่วนวิธีด าเนินการวิจัยนั้น ให้สรุปเฉพาะ
สาระส าคัญจาก บทที่ 3 โดยระบุกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคืออะไร มีจ านวนเท่าใด ได้มาอย่างไร
ลักษณะเครื่องมือหรือวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างไร และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติหรือวิธีการ
อย่างไร
2) การสรุปผลการวิจัย ให้เขียนบรรยายให้ชัดเจนหรือแยกผลการวิจัย
เป็นข้อ ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่าผลเป็นอย่างไร สอดคล้องหรือขัดแย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
หรือไม่ ค าบรรยายในส่วนสรุปผลการวิจัยนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเรียบเรียงมาจากสรุปผลการวิเคราะห์
ในบทที่ 4 ซึ่งอาจสรุปมาเฉพาะผลที่เห็นว่าส าคัญและน่าสนใจได้
3) การอภิปรายผล ส่วนนี้มีความส าคัญอย่างมาก เพราะเป็นส่วนที่
แสดงถึงความรู้ความสามารถของผู้วิจัย ว่ามีทัศนะความรู้หรือความสามารถในการวิเคราะห์
การอ้างเหตุผลต่อการวิจัยได้ลึกซึ้งเพียงใด ยกประเด็นที่เป็นสาระส าคัญและองค์ความรู้ที่ได้รับจาก
การวิจัยมาน าเสนอในประเด็นใดได้บ้าง และสามารถสร้างหรือต่อยอดองค์ความรู้ให้กว้างขึ้นหรือเป็น
ประโยชน์ได้อย่างไร การอภิปรายผลอาจต้องอ้างอิงหลักวิชา ทฤษฎี หรือผลงานวิชาการของผู้อื่นมา
ประกอบ ผู้วิจัยจึงต้องอ่านเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กว้างขวาง เพื่อจะได้อภิปราย
ผลการวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ โดยปกติแล้วจะน าผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ค้นคว้าใน บทที่ 2 มาร่วม
อภิปรายว่าสอดคล้องหรือตรงกันกับผลการวิจัยที่ผู้วิจัยพบหรือไม่ และให้เหตุผลว่าเพราะเหตุใด
โดยพิจารณาจากข้อมูลผลการวิจัยที่น าเสนอในไว้ในบทที่ 4
4) ข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น
(1) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะเสนอแนะแนวทาง
ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ข้อเสนอแนะจะต้องเป็นผลมาจากงานวิจัย
ที่ผู้วิจัยค้นพบเท่านั้น ข้อเสนอแนะต้องไม่ใช่มาจากความรู้สึกส่วนตัวหรือความรู้อื่น ๆ