Page 15 - เล่มสมบูรณ์ 14 มิ.ย.62
P. 15

9





                      นอกเหนือไปจากผลการวิจัย ดังนั้น ก่อนเสนอแนะควรกล่าวน าว่าผลการวิจัยที่ได้เป็นอย่างไร

                      ผู้วิจัยจึงเสนอแนะดังกล่าว

                                             (2) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป อาจมีได้ในกรณีที่ผู้วิจัยสรุปผล
                      งานวิจัยนั้นแล้วพบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจอื่น ๆ ในการศึกษาต่อ หรือพบความผิดพลาดในการควบคุม

                      ตัวแปรในบางประเด็น จึงเสนอแนะให้มีการศึกษาต่อเพื่อผลการวิจัยที่ชัดเจนและสมบูรณ์ในเรื่องนั้น ๆ

                               2.1.2  การวิจัยเชิงคุณภาพ
                                   การเขียนส่วนเนื้อหาในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น จะประกอบด้วย บทที่ 1 บทน า บทที่

                      2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                      ซึ่งแบ่งแยกบทมากน้อยได้ตามความเหมาะสม และบทสุดท้าย คือ บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและ
                      ข้อเสนอแนะ โดยส่วนประกอบของบทต่าง ๆ และจ านวนบทอาจก าหนดแตกต่างกันได้ตามความ

                      เหมาะสมของงานวิจัยแต่ละเรื่อง

                                   2.1.2.1  บทน า ประกอบด้วย ที่มาความส าคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                      ค าถามการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย กรณีที่จ าเป็นต้องมีเรื่อง

                      ของนิยามศัพท์เฉพาะหรือหัวข้อส าคัญอื่น ๆ ที่เป็นเงื่อนไขของการวิจัย อาจเพิ่มเติมหัวข้อเหล่านั้นเข้า

                      ไปได้ตามความเหมาะสม
                                         1)  ที่มาและความส าคัญของปัญหา คือ การกล่าวน าถึงที่มาในการท าวิจัย

                      เรื่องนี้ว่ามาจากสภาพปัญหาหรือจุดสนใจอย่างไร ในการเขียนให้พยายามผูกประเด็นให้น่าสนใจที่จะ

                      ติดตามศึกษาเรื่องนั้น
                                         2) ค าถามการวิจัย คือ การตั้งโจทย์ที่ได้มาจากสถานการณ์ที่ผู้วิจัยสนใจ

                      ใฝ่รู้และต้องการค าตอบโดยใช้การวิจัย ซึ่งอาจตั้งโจทย์เกี่ยวกับองค์ความรู้เดิมเพื่อน าไปสู่การสร้าง

                      องค์ความรู้ใหม่ หรือขยายขอบเขตของความรู้ที่มีอยู่แล้วให้กว้างขวางและลึกซึ้งชัดเจนมากยิ่งขึ้น
                                         3)  วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การกล่าวถึงความต้องการศึกษาเรื่องใด

                      ถ้ามีหลายเรื่องอาจมีการแยกเป็นหัวข้อ ๆ ให้ชัดเจน และล าดับเรื่องก่อนหลังให้เหมาะสม ความมุ่ง

                      หมายของการวิจัยจะต้องน าไปสู่การตอบค าถามการวิจัยที่ได้ตั้งไว้
                                         4)  ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุว่าการวิจัยมีขอบเขตกว้างหรือแคบ

                      เพียงใดและอย่างไร จะเว้นไม่ศึกษาเรื่องใด เพราะเหตุใด และให้ระบุด้วยว่าการก าหนดขอบเขต

                      ดังกล่าวจะก่อให้เกิดความชัดเจนในการศึกษาอย่างไร
                                         5)  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เป็นการคาดหวังผลงานวิจัย

                      ว่าจะให้ประโยชน์ต่องานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไร
                                   2.1.2.2   เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20